กลับหน้าแรก รายวิชา ว30213



Note...
 ระบบนิเวศบนโลกถึงแม้จะมีความหลากหลาย แต่ก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน คือ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
     1. ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component ) ประกอบด้วย
อนินทรียสาร ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน น้ำ และคาร์บอน
อินทรียสาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฯลฯ
ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ แสง ความเป็นกรด เป็นด่าง ความเค็มและความชื้น
     2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต (biotic component) ได้แก่

อธิบาย Slide หน้า 11

      
 ผู้ผลิต (producer)
       ผู้บริโภค (consumer)
       ผู้ย่อยสลาย (decomposer)


       ผู้ผลิต (producer) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์อาหารขึ้นได้เองด้วยแร่ธาตุและสสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ พืชสีเขียว 
สาหร่าย แพลงค์ตอนพืช และแบคทีเรียบางชนิด

       ผู้บริโภค (consumer) คือ สิ่งมีชีวิตที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นๆเป็นอาหาร แบ่งได้เป็น
                ผู้บริโภคปฐมภูมิ (primary  consumers) หรือ ผู้บริโภคลำดับที่ 1 เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร (herbivore) โดยตรง เช่น  วัว ควาย กระต่าย
และปลาที่กินพืชเล็กๆ ฯลฯ
                ผู้บริโภคทุติยภูมิ (secondary  consumers) หรือ ผู้บริโภคลำดับที่ 2  เป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์กินนื้อ (carnivore) หมายถึงสัตว์ ที่กินสัตว์กินพืช หรือผู้บริโภคปฐมภูมิเป็นอาหาร เช่น เสือ สุนัข สุนัขจิ้งจอก ฯลฯ เป็นต้น                                                                                                                   
                ผู้บริโภคตติยภูมิ  (tertiary  consumers) หรือผู้บริโภคลำดับที่ 3  เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินทั้งสัตว์กินพืชและสัตว์กินสัตว์หรือพวกที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร (omnivore) เช่น มนุษย์ ไก่ เป็ด เป็นต้น

                ผู้บริโภคขั้นจตุรภูมิ (Quaternary consumer) หรือ ผู้บริโภคลำดับที่ 4 หรือ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระดับขั้นการกินสูงสุด ซึ่งหมายถึงสัตว์ที่ไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่นๆ ต่อไป เป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของการกินเป็นอาหาร เช่น มนุษย์

       ผู้ย่อยสลาย (
detritivore, scavenger, decomposer, saprophage ) คือ สิ่งมีชีวิตที่บริโภคของเสียจากสัตว์ หรือซากของสิ่งมีชีวิตเป็นอาหาร ทำให้เศษซากอินทรีย์เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แร้ง ปลวก ไส้เดือนดิน กิ้งกือ หอย ด้วงและจุลินทรีย์ แบคทีเรีย  รา  และยีสต์

ห่วงโซ่อาหาร และ สายใยอาหาร





          ห่วงโซ่อาหารแบ่งเป็น 4 แบบ คือ

         1. ห่วงโซ่อาหารแบบผู้ล่า (Predator chain or Grazing food chain) เริ่มจากผู้ผลิตคือพืช ตามด้วยผู้บริโภคอันดับต่างๆ การถ่ายทอดพลังงานจึงประกอบด้วย ผู้ล่า (Predator) และเหยื่อ (Prey) 
         2. ห่วงโซ่อาหารแบบปรสิต (Parasitic chain) เริ่มจากผู้ถูกอาศัย (Host) ถ่ายทอดพลังงานไปยังปรสิต 
         (Parasite) และต่อไปยังปรสิตอันดับสูงกว่า (Hyperparasite) โดยภายในห่วงโซ่นี้จะใช้การเกาะกินซึ่งกันและกัน
         3. ห่วงโซ่อาหารแบบเศษอินทรีย์ (Detritus chain) เริ่มจากซากพืชหรือซากสัตว์ (Detritus) หรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตถูกผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์กัดกิน และผู้บริโภคซากอาจถูกกินต่อโดยผู้บริโภคสัตว์ อีกทอด 
         4. ห่วงโซ่อาหารแบบผสม (Mixed chain) เป็นการถ่ายทอดพลังงานระหว่างสิ่งมีชีวิตหลายๆ ประเภท อาจมีทั้งแบบผู้ล่า และปรสิต เช่น จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคพืช และไปยังปรสิตเป็นต้น

          ประเภทของห่วงโซ่อาหาร   ห่วงโซ่อาหารที่สำคัญมี 2 ประเภท คือ

            1. Grazing food chainเป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มจากพืช (ที่ยังมีชีวิต) ผ่านไปยังสัตว์อื่น ๆ ตามลำดับขั้นการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหาร มี 2 ลักษณะย่อย  คือ 

                      1.1 ห่วงโซ่อาหารแบบจับกิน  เป็นห่วงโซ่อาหารที่มีลักษณะฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ล่า (predator) ส่วนอีกฝ่ายเป็นผู้ถูกล่าหรือเหยื่อ (prey) เป็นลักษณะะที่พบเห็นได้ง่ายทั่วไป

                        

                  1.2  ห่วงโซ่อาหารแบบปรสิต    เป็นห่วงโซ่ที่ฝ่ายหนึ่งเป็นแหล่งพึ่งพิงและอีกฝ่ายเป็นผู้อาศัย   ซึ่งได้อาหาร+พลังงานจากแหล่งพึ่งพิงนั่นเอง

               2. Detritus  food chain  (ห่วงโซ่อาหารแบบเศษอินทรีย์)  เป็นห่วงโซ่ที่เริ่มต้นสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิตโดยผู้ย่อยสลาย หรือ ใช้เศษอินทรีย์ต่าง ๆ เป็นอาหาร แล้วส่งต่อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นตามลำดับขั้นการบริโภค  มักพบมาก ในน้ำ

                 สายใยอาหาร (Food web) หมายถึง การถ่ายทอดพลังงานเคมีในรูปอาหารระหว่างสิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิดมารวมกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานที่ซับซ้อน  การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ จะไหลไป
                 ในทิศทางเดียว คือ เริ่มต้นจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็มีการสูญเสียพลังงานออกไปในแต่ละลำดับ ไม่มีการเคลื่อนกลับเป็นวัฏจักร จึงกล่าวได้ว่า การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศไม่เป็นวัฏจักร (
Non - cyclic) และเป็นการรวมกันของห่วงโซ่อาหารหลายๆ ชุด อย่างซับซ้อน (Complex food chain) เพราะบางครั้งสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งกินจะสามารถกินอาหารได้หลายอย่าง และในเวลาเดียวกันยังเป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นอีกหลายชนิด ห่วงโซ่อาหารจึงเชื่อมโยงเป็นใยแมงมุม และการถ่ายทอดพลังงานระหว่างสิ่งมีชีวิตก็มีความซับซ้อนขึ้นด้วย และมีโอกาสถ่ายทอดได้หลายทิศทาง เช่นสายใยอาหารในน้ำ



ถ้ากลุ่มสิ่งมีชีวิตในสายใยอาหารมีความสมดุลนั่นคือ สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิต ได้แก่พืช สาหร่ายสีเขียว และไดอะตอม ควรจะมีปริมาณมากที่สุด ห่วงโซ่อาหารจึงจะสมดุลสิ่งมีชีวิตบางชนิด จัดเป็นผู้บริโภคได้หลายอันดับ เช่น ถ้าปลากินสาหร่ายสีเขียว ปลาจะเป็นผู้บริโภคอันดับแรก แต่ถ้าปลากินไรน้ำ ปลาจะเป็นผู้บริโภคอันดับสอง เพราะไรน้ำกินได้อะตอมมาก่อนถ้าผู้บริโภคชนิดใดชนิดหนึ่งมีปริมาณเปลี่ยนแปลงไปอย่างกระทันหัน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมาก จะทำให้สมดุลในสายใยอาหารเปลี่ยนไป และส่งผลต่อสมดุลของระบบนิเวศตามมา