1.1.simple squamous epithelium เซลล์มีลักษณะแบนบาง เรียงตัว 1 ชั้นบนเยื่อรองรับพื้นฐานนิวเคลียสรูปกลม พบที่ชั้นนอกของโบว์แมนแคปซูล (Bowman’s capsule) ผนังหลอดเลือด เยื่อบุช่องท้องช่องหัวใจและปอด
1.2.simple cuboidal epitheliumเซลล์มีลักษณะรูปร่างลูกบาศก์ นิวเคลียสกลม เรียงตัว 1 ชั้นอยู่บนเยื่อรองรับพื้นฐาน พบที่ท่อต่าง ๆ เช่น ท่อรวม (collecting duct) ท่อน้าลาย ท่อตับอ่อน และหลอดลม
1.3.simple columnar epitheliumเซลล์ทรงกระบอกสูง นิวเคลียสรูปรีเรียงตัว 1 ชั้นอยู่บนเยื่อรองรับพื้นฐาน พบที่เยื่อบุทางเดินอาหารส่วนต่าง ๆ ยกเว้นหลอดอาหารและทวารหนัก
2.stratified epithelium ประกอบด้วยเซลล์เรียงซ้อนกัน 2 ชั้นขึ้นไป พบที่ผิวหนัง และเยื่อบุหลอดอาหารของคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
2.1.stratified squamous epitheliumเซลล์ชั้นบนสุดแบนบาง เรียงตัวซ้อนกันหลายชั้น เซลล์ชั้นล่างรูปร่างลูกเต๋า พบที่บริเวณผิวหนัง เยื่อบุช่องปาก หลอดอาหาร ทวารหนัก
2.2.stratified cuboidal epitheliumเซลล์มีลักษณะรูปร่างลูกบาศก์เรียงซ้อนกัน 2-3 ชั้นบนเยื่อรองรับพื้นฐาน พบที่ภายในท่อขนาดกลางของต่อมต่าง ๆ เช่น ต่อมน้าลาย ตับอ่อน ต่อมเหงื่อ
2.3.stratified columnar epitheliumเซลล์มีลักษณะรูปร่างทรงกระบอกสูงเรียงซ้อนกัน 2-3 ชั้น ชั้นล่างเป็นเซลล์ที่มีรูปร่างหลายเหลี่ยมตั้งอยู่บนเยื่อรองรับพื้นฐาน พบได้น้อย เช่นที่บริเวณท่อปัสสาวะของเพศชาย
3.pseudostratified epithelium มีการเรียงตัวกันของเซลล์ที่มองดูเหมือนกับมีเซลล์อยู่ซ้อนกันหลายชั้น แต่ความจริง ทุกเซลล์ยังติดอยู่บนเยื่อรองรับฐานทั้งสิ้น เพียงแต่บางเซลล์ไม่สูงพอที่จะยื่นไปถึงผิวหน้าอิสระของเนื้อเยื่อ และถูกเบียดอยู่ด้านล่าง ทำให้เห็นเหมือนมี 2 ชั้นหรือมากกว่านั้น พบที่ทางเดินหายใจบางส่วน ซึ่งเซลล์ชั้นบนสุดมีซีเลีย และพบที่ท่อของต่อมหลายชนิด สำหรับเนื้อเยื่อบุผิวชนิด stratified ยังพบชนิดพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งเซลล์อาจเปลี่ยนรูปร่างได้ชั่วคราวหรือเปลี่ยนรูปร่างกลับไปกลับมาได้ เช่น ที่ผนังกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีการยืดขยายตัวในบางครั้งเพื่อรองรับปริมาณปัสสาวะที่เพิ่มขึ้น เซลล์ที่บุผิวจะเปลี่ยนแปลงจากรูปลูกบาศก์เป็นแบนราบลงกว่าเดิม เมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะขยายออก เรียกเนื้อเยื่อบุผิวชนิดว่า เป็นแบบ stratified transitional epithelium
เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue)
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นเนื้อเยื่อที่พบแทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชนิดอื่นๆ พบทั่วร่างกายทำหน้าที่พยุงและยืดเหนี่ยวให้เนื้อเยื่อเหล่านั้นคงรูปและอยู่รวมกันได้ และสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เรียงกันอยู่ห่างๆ อยู่ในสารระหว่างเซลล์ (matrix) ที่มีปริมาณมาก สารระหว่างเซลล์ประกอบด้วยเส้นใย และสารประกอบที่มีลักษณะใสและมีความหนืด
ประกอบด้วยเซลล์ชนิดต่างๆ
อยู่ในสารระหว่างเซลล์ เรียกว่า Intercellular matrix โดยมีเส้นใย
(fiber)
หลายชนิดมีลักษณะเป็นเจล
ทำหน้าที่
–
เชื่อมโยงยึดเหนี่ยวอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายให้ติดต่อถึงกัน
– ช่วยเชื่อมระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย
– พยุงค้าจุน
ป้องกันอวัยวะ ให้อวัยวะเกิดรูปร่าง
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีหลายชนิดหลัก
ๆ 8 ชนิด
1.เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบาง
(loose
หรือ areolar
connective tissue)
เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่กระจายอยู่มากที่สุดในร่างกาย
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการห่อหุ้มและยึดอวัยวะต่าง
ๆ ของร่างกายไว้ด้วยกัน
พบที่
เยื่อหุ้มหัวใจ
เยื่อหุ้มปอด เยื่อบุภายในช่องท้อง
เป็นแถบโปร่งบางใส
มีเซลล์อยู่หลายชนิด มีเส้นใยชนิดต่าง ๆ หลายชนิดกระจายอยู่ทั่วไปภายในเมทริกซ์
ซึ่งมีสารประกอบ ไกลโคโปรตีน เช่น เส้นใย collagen และ elastic
มีสมบัติโค้งงอได้
ฉะนั้นจึงทาให้ส่วนที่ติดต่ออยู่เคลื่อนไหวได้ดี
2. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแน่นทึบ (dense
connective tissue)
เป็นเนื้อเยื่อที่มีความแข็งแรงมาก
และโค้งงอได้ แต่น้อยกว่าชนิดโปร่งบาง ประกอบด้วยเซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast)
collagen fiber เป็นส่วนใหญ่
อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
-
แบบ irregular มี collagen
fiber จัดตัวเป็นมัดกระจายทุกทิศทางทั่วไปในเนื้อเยื่อ
พบที่ชั้น dermis ของผิวหนัง
-
แบบ regular มี
collagen
fiber ที่เป็นระเบียบแน่นอน
ทำให้เนื้อเยื่อแข็งแรงและต้านทานแรงต่าง ๆ ได้ดีมาก ตัวอย่าง คือ
เอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูก (tendon)
3. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดอิลาสติก
(elastic
connective tissue)
ประกอบด้วยมัดของ
elastic
fiber เรียงขนานกัน
และถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบาง
เนื้อเยื่อบริเวณนี้มักมีสีเหลืองและมี คุณสมบัติยืดหยุ่นได้ดี
พบที่เอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก
(ligament)
พบที่โครงสร้างที่ต้องขยายและกลับสู่สภาพเดิม
เช่น ผนังของเส้นเลือดอาร์เทอรีขนาดใหญ่ และเนื้อเยื่อปอด
4. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดตาข่าย (reticular
connective tissue)
เป็นเนื้อเยื่อที่มีช่องว่างเป็นรูพรุน
เพื่อให้น้ำเหลืองหรือของเหลวไหลผ่านได้
ประกอบด้วย
reticular
fiber สานกันไปมาจนเป็นโครงร่างของอวัยวะ
ทำหน้าที่ค้าจุนอวัยวะหลายอย่าง
เช่น ตับ ม้าม ต่อม น้ำเหลือง
5. เนื้อเยื่อไขมัน (adipose
tissue)
เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ไขมันที่กระจายตัวหรือเรียงตัวอยู่เป็นกลุ่ม
ๆ พบในชั้นใต้ผิวหนัง
และเนื้อเยื่อที่ป้องกันอวัยวะภายใน
เนื้อเยื่อไขมันมีอยู่ 2 ชนิด
ได้แก่
common
yellow fat พบสะสมทั่วทุกแห่งในร่างกาย
และ
brown
fat เป็นเนื้อเยื่อไขมันที่สะสมอยู่ในสัตว์จาศีล
6. กระดูกอ่อน (cartilage)
ประกอบด้วยเซลล์ชนิดต่างๆ
ได้แก่ chondoblast และ chondocyte ซึ่งสร้างสารออกมานอกเซลล์ได้แก่
เส้นใย และกรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic
acid) ทำหน้าที่รองรับเนื้อเยื่อที่มีความอ่อน
ช่วยในการ เคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูก ปกคลุมผิวของหัวกระดูก
hyaline cartilage
เมทริกซ์มีเส้นใยคอลลาเจนจานวนน้อยกระจายอยู่
รับแรงกระแทกและกันกระเทือนได้ดี
พบอยู่ตามข้อต่อของกระดูกต่างๆ เช่น เยื่อกั้นจมูก (Nassal
septum) หลอดลม กระดูกอ่อนของซี่โครง
elastic cartilage
เมทริกซ์เต็มไปด้วย
collagen
fiber และelastic
fiber
มีความยืดหยุ่นมาก ทาให้คงทนแข็งแรง
พบตามใบหู
กล่องเสียงและฝาปิดกล่องเสียง
fibrocartilage
เมทริกซ์เต็มไปด้วย
collagen
fiber
สามารถรับแรงกดได้หลายทิศทาง
พบตามข้อต่อของกระดูกสันหลัง (intervertebral
disk) และข้อต่อกระดูก
7. กระดูก (bone)
กระดูก เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษมีลักษณะแข็ง เพราะมีผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์
(hydroxyapatite) เข้ามาเสริมในสารระหว่างเซลล์
กระดูกเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงร่าง เป็นส่วนห่อหุ้มป้องกันอวัยวะภายใน และเป็นที่เก็บสะสมของเกลือแคลเซียมอีกด้วย
มีแขนงยื่นเป็นเส้นเล็กๆออกไปรอบเซลล์
(canaliculi)
8. เลือด (blood)
ส่วนที่เป็นของเหลว 55 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งเรียกว่า “ น้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma)” และส่วนที่เป็นของแข็งมี 45
เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด
กระดูกอ่อน (cartilage)
พบอยู่ตามส่วนของโครงกระดูก โดยเฉพาะบริเวณที่กระดูกมีการเสียดสีกัน ประกอบด้วย เมทริกซ์ ซึ่งเป็นสารพวกมิวโคพอลิแซ็กคาไรด์ ชนิดคอนโดรมิวคอยด์ (condromucoid) มีลักษณะคล้าย วุ้นเซลล์กระดูกอ่อน เรียกว่า คอนโดรไซต์ (chondrocyte) มีรูปร่างกลมหรือ รูปไข่ อาจพบ 1-4 เซลล์ เรียงตัวอยู่ในช่องว่างที่เรียกว่า ลาคูนา (lacuna) กระดูกอ่อนสามารถพบได้ที่ใบหู ฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis)กล่องเสียง(trachea) กระดูกอ่อนกั้นระหว่าง กระดูกสันหลังแต่ละข้อ (intervertebral disc) เป็นต้นกระดูกอ่อนแบ่งได้ 3 ชนิด คือ
1.กระดูกอ่อนโปร่งใส (Hyaline Cartilage)
มีลักษณะใสเหมือนแก้วเพราะมีเมทริกซ์ โปร่งใส เป็นชนิดที่พบมากที่สุดในร่างกายเป็นต้นกำเนิดโครงกระดูกส่วนมากในร่างกาย เช่น กระดูกซี่โครงด้านหน้าตรงส่วนรอยต่อกับกระดูกหน้าอก บริเวณส่วนหัวของกระดูกยาว เช่น จมูก กล่องเสียง หลอดลม รูหูชั้นนอก หลอดลม ขั้วปอด เป็นต้น
2.กระดูกอ่อนยืดหยุ่น (Elastic Cartilage)
เป็นกระดูกอ่อนที่ยืดหยุ่นได้ดี มีเมทริกซ์ เป็นพวกเส้นใย ยืดหยุ่นมากกว่าคอนลาเจนพบได้ที่ใบหูฝาปิดกล่องเสียง หลอดยูสเตเชียน เป็นต้น
3.กระดูกอ่อนเส้นใย (Fibrous Cartilage)
พบในร่างกายน้อยมาก เป็นกระดูกอ่อนที่มีสารพื้นน้อยแต่มีเส้นใยมาก พบได้ที่หมอนรองกระดูกสันหลัง ปลายเอ็นตรงส่วนที่ยึดกับกระดูก และตรงรอยต่อที่กระดูกกับหัวหน่าว กระดูกอ่อนชนิดนี้ ถ้าเกิดการแตกหัก มักมีปัญหาเกี่ยวกับการงอกออกมาซ่อมแซมมาก
เปรียบเทียบชนิดของกระดูกอ่อน (cartilage)
กระดูกแข็ง (bone) ประกอบด้วยเซลล์กระดูกที่เรียกว่า ออสทีโอไซต์ (osteocyte) อยู่ในช่องลาคูนา โดยเซลล์กระดูก จัดเรียงตัวเป็นวงรอบช่อง ฮาเวอร์เชียน (harversian canal) ที่มีเส้นเลือดนำอาหารมาเลี้ยงเซลล์กระดูกและเรียกลักษณะ การเรียงตัวของเซลล์กระดูกนี้ว่า ระบบฮาร์เวอร์เชียน (harversian system) ช่องฮาร์เวอร์เชียนสามารถติดต่อกับ ช่องลาคูนาหรือระหว่างช่องลาคูนาด้วยกันเองโดยผ่านช่องเล็ก ๆ ที่เรียกว่า คานาลิคูไล (canaliculi) สารระหว่างเซลล์กระดูก ประกอบด้วยแคลเซียมและฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบสำคัญกระดูก
- Spongy bone ( cancellous bone )กระดูกชนิดนี้มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีลักษณะเปราะบางและแตกง่าย พบที่ skull , sternum pelvis
- Compact boneเป็นกระดูกแข็งอัดตัวกันอย่างหนาแน่น เป็นกระดูกโครงร่างของร่างกาย

เซลล์กระดูก
เลือด ประกอบด้วย
- น้ำเลือด (plasma)
- เซลล์เม็ดเลือด ซึ่งแบ่งเป็น
– เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell or erythrocyte) เซลล์เม็ดเลือดแดง มีรงควัตถุฮีโมโกลบิน (hemoglobin)ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
– เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell or leucocyte) เซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย มี 2 ประเภท คือ
พวกที่มีเม็ดแกรนูล (granule) พิเศษในไซโทพลาสซึม (granulocyte) สามารถย้อมติดสี ได้ดี เซลล์เม็ดเลือดขาวในกลุ่มนี้ ได้แก่นิวโทรฟิล (neutrophil) เซลล์มีนิวเคลียส 2-6 พู โอซิโนฟิล (eosinophil) เซลล์มีนิวเคลียสไม่เกิน 3 พู และเบโซฟิล (basophil) เซลล์มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ แยกเป็นพูรูปตัวเอส (s) หรือรูปร่างไม่แน่นอน
พวกที่ไม่มีเม็ดแกรนูลในไซโทพลาสซึม (agranulocyte) ได่แก่ ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เซลล์มีนิวเคลียสกลมมีขนาดใหญ่ ขนาดใกล้เคียงกับเซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์โมโนไซต์ (monocyt) นิวเคลียสมีขนาดใหญ่ รูปไต หรือรูปรี เกล็ดเลือด (thrombocyte) เกล็ดเลือด เป็นชิ้นส่วนของไซโทพลาซึม (cytoplasm) ของเซลล์ชนิดหนึ่ง ในไขกระดูกที่แตกออกจากกัน เข้ามาอยู่ในกระแสเลือดไม่มีสี และไม่มีนิวเคลียส ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การแข็งตัวของเลือด
เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (muscular tissue)
เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ มีลักษณะเฉพาะ คือ เซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell) มีลักษณะยาวมาก จึงเรียกอีกชื่อว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) เยื่อหุ้มเซลล์มีชื่อเรียกเฉพาะว่า sarcolemma และไซโทพลาสซึมมีชื่อเรียกเฉพาะว่า sarcoplasm เรียก endoplasmic reticulum ว่า sarcoplasmicreticulumในสัตว์มีกระดูกสันหลัง พบเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ มี 3 ชนิด ได้แก่
1.กล้ามเนื้อเรียบ (smoothmuscle)
2.กล้ามเนื้อลาย(skeleton muscle)
3.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
1.กล้ามเนื้อเรียบ (smoothmuscle) พบที่อวัยวะภายใน เช่นที่ผนังของทางเดินอาหารมดลูก เส้นเลือด และอวัยวะภายในอื่น ๆ รูปร่างของเซลล์มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี1 นิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์ เมื่อมองด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา จะไม่เห็นมีลาย แต่เห็นเป็นเนื้อเยื่อเดียวกันหมด กล้ามเนื้อเรียบหดตัวได้ช้า แต่หดตัวได้นานมาก และการท างานอยู่นอกอำนาจจิตใจ
กล้ามเนื้อเรียบ
2.กล้ามเนื้อยึดลาย (skeleton muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่อยู่ติดกับกระดูก เช่น กล้ามเนื้อที่แขนขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง เมื่อดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดใช้แสงธรรมดา จะเห็นแถบสีเข้มและจางพาดขวางสลับกันไป เรียกว่าลาย (striations) เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียสซึ่งเรียงกันอยู่ทางด้านข้างบริเวณใต้เยื่อหุ้มเซลล์ การทำงานของกล้ามเนื้อนี้อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ

กล้ามเนื้อลาย
3.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) พบที่ผนังหัวใจ เซลล์มีรูปร่างยาวทรงกระบอก มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลางบริเวณส่วนปลายของเซลล์มีการแตกแขนงแยกออกเป็น 2 แฉก เรียกว่า การแตกแบบไบเฟอเคท(bifurcate) และบริเวณส่วนปลายเยื่อหุ้มเซลล์ของด้านทั้งสองของเซลล์ทั้งสองที่มีประชิดกันทำให้เห็นรอยตามขวางที่มีสีเข้ม และเห็นเด่นชัด เรียกว่า intercalated disk เมื่อมองด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา จะเห็นเป็นลาย แต่การทำงานไม่เหมือนของเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกเพราะอยู่นอกอำนาจจิตใจ
กล้ามเนื้อหัวใจ
เนื้อเยื่อประสาท (neurous tissue)
เป็นโครงสร้างที่เล็กที่สุด
และเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ของระบบประสาทมีรูปร่างสลับซับซ้อนกว่าเซลล์อื่นๆ
ในร่างกาย คือ ประกอบด้วยตัวเซลล์ ( cell body ) ภายในมี
นิวเคลียส ( nucleus ) และโปรโตปลาสซึม ( protoplasm
) สาหรับโปรโตปลาสซึมของเซลล์ประสาทจะ
ยื่นออกไปจากเซลล์เรียกว่า แขนง ( process ) ซึ่งมี
2 ชนิด ดังนี้
1.
เดนไดรท์ ( dendrite
) เป็นแขนงของเซลล์ประสาทซึ่งนำสัญญาณประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์
2.
แอ็คซอน
( axon ) เป็นแขนงของเซลล์ประสาทซึ่งนำสัญญาณประสาทออกจากเซลล์ประสาทนั้นๆ
เนื้อเยื่อประสาทแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆดังนี้
1. ส่วนที่มีสีเทาหรือสีค่อนข้างเข้ม ( gray matter ) จะมีตัวเซลล์ ( cell body ) ของเซลล์สมองและที่ส่วนแกนของไขสันหลัง
2. ส่วนที่มีสีขาวหรือสีจาง ( white matter ) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อประสาทที่มีปลอกไมอิลิน ( myelinated sheath ) ห่อหุ้ม ซึ่งเป็นส่วนของใยประสาท ( nerve fiber ) เนื้อเยื่อส่วนนี้พบบริเวณถัดเข้ามาจากส่วนที่มีสีเทาของเนื้อสมอง และที่ส่วนนอกของไขสันหลัง จำนวนที่มากนี้จึงสามารถช่วยนำกระแสประสาทได้เร็วขึ้น