แนวข้อสอบปลายภาค 30 คะแนน
1. ปรนัย 40 ข้อ 20 คะแนน (แนวข้อสอบอยู่ในแบบฟอร์มข้อสอบด้านล่าง 40 ข้อ)
2. อัตนัย 2 ข้อ 10 คะแนน เนื้อหาข้อสอบ อยู่ในปฏิบัติการส่องเซลล์พืช
เนื้อหาอ่านสอบเพิ่มเติม
@@@@@@
ปากใบของพืช คืออะไร? ทำหน้าที่สำคัญอะไร?
ความหมาย
ปากใบ (stomata) คือ รูที่อยู่ระหว่างเซลล์คุม (guard cell) ที่ควบคุมการเปิดปิดของปากใบ ปากใบของพืช (stomata) มีหน้าที่สำคัญคือเป็นทางเข้าออกของน้ำและอากาศของพืชโดยตรง ซึ่งปากใบของพืชส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านล่างผิวใบของพืช เพราะเป็นที่รู้จักกันคือพืชต่างๆจะสังเคราะห์แสงได้ดีในช่วงที่มีแสงแดดมาก ปากใบจึงต้องอยู่ด้านล่างของพืช และผิวใบด้านบนของพืชก็จะมีสารคิวทินเคลือบอยู่หนา ซึ่งก็จะช่วยลดการคายน้ำออกทางปากใบพืชได้อีกทางหนึ่ง
ปากใบของพืช (stomata) เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษเรียกว่าเซลล์คุม (guard cell) มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วสองอันประกบกัน และมีเซลล์ประกอบ (subsidiary cell) อยู่โดยรอบปากใบเป็นช่องทางให้น้ำแพร่ออกจากช่องว่างภายในใบสู่อากาศ และขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางให้คาร์บอนไดออกไซด์แพร่จากอากาศเข้าสู่ช่องว่างภายในใบได้ ปากใบมีอยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างของแผ่นใบ
พืชส่วนใหญ่จะมีจำนวนปากใบด้านล่างของแผ่นใบมากกว่าด้านบน ผิวของแผ่นใบจะมีไขมันเคลือบอยู่หนาเพื่อลดการคายน้ำ ใบพืชจะมีจำนวนและขนาดของปากใบกระจายทั่วแผ่นใบไม่สม่ำเสมอกัน ปากใบไม่ได้มีอยู่เฉพาะบนแผ่นใบเท่านั้น ยังพบปากใบอยู่บนผิวของผลได้ด้วยเช่นกัน เช่น ผิวของผลมังคุด การลำเลียงธาตุอาหารที่อาศัยการไหลไปกับกระแสของการคายน้ำ เมื่อปากใบของผิวผลปิดแคบลง ในช่วงที่ฝนตกชุก (ไอน้ำในอากาศมีมาก ไม่มีแรงขับเคลื่อนให้น้ำไหลออกจากต้นพืช) ทำให้ธาตุอาหารไม่สามารถส่งไปได้เพียงพอกับการสร้างผนังเซลล์ของผลที่กำลังขยายขนาด จึงทำให้เซลล์แตกและเกิดอาการเนื้อแก้วยางไหลของผลมังคุด
การคายน้ำของพืช พืชจะคายน้ำสูบรรยากาศโดย 2 ช่องทาง คือ
- คายน้ำผ่านทางปากใบ
- คายน้ำผ่านทางรอยแตกที่ผิวของลำต้น
หน้าที่สำคัญของปากใบคืออะไร?
เรามักจะเข้าใจในวิวัฒนาการของพืช stoma ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการคายน้ำ (transpiration) แต่หน้าที่หลักที่แท้จริงของ stomata คือการแลกเปลี่ยนก๊าซ (gas exchange) เนื่องจากพืชบกมีวิวัฒนาการในการสร้างชั้น cuticle (คิวติเคิล) เคลือบปิดผนังเซลล์ด้านนอกของ epidermal cell (เซลล์ผิว) เอาไว้ เพื่อลดอัตราการสูญเสียน้ำจากโครงสร้างภายในออกสู่บรรยากาศภายนอก เพราะพืชบกจำเป็นต้องรักษาระดับปริมาณน้ำภายในเซลล์เอาไว้ให้พอดีที่เซลล์จะรักษาแรงดันเต่งเอาไว้ได้ และทำให้เซลล์ทำงานได้ตามปกติ แต่ cuticle ก็ป้องกันไม่ให้ก๊าซภายนอกแพร่เข้าสู่โครงสร้างภายในของพืชด้วยเช่นกัน ดังนั้นพืชจำเป็นต้องมีช่องทางที่จะแลกเปลี่ยนก๊าซ เพื่อนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จำเป็นต้องใช้ใน photosynthesis (กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง) เข้ามา
stomta คือโครงสร้างที่วิวัฒนาการมาเพื่อหน้าที่นี้แต่เมื่อ stomata เปิดทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซ ย่อมเป็นช่องทางที่ทำให้ไอน้ำภายในโครงสร้างระเหยออกมาสู่บรรยากาศภายนอกได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้เกิดกลไกของการคายน้ำทางปากใบ และเป็นสาเหตุทำให้เกิด transpiration pull (แรงดึงจากการคายน้ำ) เกิดขึ้นภายในเนื้อเยื่อท่อลำเลียงน้ำ และดูน้ำจากรากให้ลำเลียงขึ้นมาเป็นสายสู่ด้านบนได้
ปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเปิด-ปิด ของปากใบ
ปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเปิด-ปิด ของปากใบ แต่เป็นผลกระทบที่ไม่ถาวร ได้แก่
- แสง
- ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ภายในเซลล์
- อุณหภูมิของใบ
- ค่าแรงดึงระเหยน้ำของอากาศ (VPDair)
#HW6
คำอธิบายรายวิชา
ว๓๐๒๕๒ ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๒ เวลา ๔๐ ชั่วโมง จำนวน ๑.๐ หน่วยกิต
ศึกษาเซลล์และองค์ประกอบสําคัญของเซลล์ การลําเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ การรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช การรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในสัตว์ต่างๆ รวมทั้งในคน การรักษาดุลยภาพของกรด-เบส อุณหภูมิในร่างกายคน การป้องกันและกําจัดเชื้อโรคของร่างกาย การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์ การอธิบาย การอภิปรายและสรุป
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนําความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเองและดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เฝ้าระวังและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม
ผลการเรียนรู้
๑. ทดลองและอธิบายการรักษาดุลยภาพของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
๒. ทดลองและอธิบายกลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช
๓. สืบค้นข้อมูลและอธิบายกลไกการควบคุมดุลยภาพของน้ำ แร่ธาตุ และอุณหภูมิของมนุษย์
และสัตว์อื่น
๔. อธิบายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและนำความรู้ไปใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพ
๕. นำข้อมูลจากการสังเกต การสืบค้น การสำรวจตรวจสอบ หรือการทดลอง มาใช้เป็นหลักฐานหรือประจักษ์พยานอ้างอิงในการตอบคำถาม หรือสร้างคำอธิบายต่างๆ
๖. เชื่อมโยง วิเคราะห์ สังเคราะห์ คำอธิบายหรือคำตอบของคำถามต่างๆ อย่างมีเหตุผล เพื่อไปสู่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของแนวความคิดหลัก หลักการ หรือทฤษฎี
๗. อธิบาย นำเสนอ เพื่อสื่อสารองค์ความรู้ไปยังผู้อื่นอย่างมีเหตุผล ด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับหลักวิชาการ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน มีความรอบคอบที่จะนำความรู้ในสาขาต่างๆ มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน นำเสนอข้อมูลด้วยความเป็นจริง ด้วยวิธีการต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ
รวมทั้งหมด ๗ ผลการเรียนรู้